วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

             การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary investigation) - ในตัวอำเภอของผมนั้นจะมีเนื้อหาอยู่มากมาย และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผมไม่ค่อยมีเวลาได้ไปลงพื้นที่จริงๆ และถ้าผมได้ไปลงพื้นที่จริงๆ น่าจะได้ข้อมูลมากกว่ที่มีอยู่ และน่าจะสามารถเพิ่มยอดผู้ติดตามได้

          
           วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis) - กลุ่มผู้ติดตามนั้นสามารถติดตามได้ ทุกเพศ ทุกวัย คือจะต้องนำเสนอเรื่องราวในมุมมองที่แปลกใหม่ และครอบคลุมมากที่สุด
           
           จุดเด่น >>> นำเสนอรูปภาพที่สวยงาม ตระการตา เนื้อหาครบถ้วน
           จุดด้อย >>> ไม่มีเวลาลงพื้นที่จริง มีแอดมินเพียงคนเดียว
         
            ออกแบบ (System Design) - มีการวางแผนก่อนลงพื้นที่ เก็บเกี่ยวเนื้อหาจริงๆ วางโครงเรื่องว่าจะเล่ายังไง เล่าจากไหนไปไหน วาดสตอรี่บอร์ด และจินตนาการภาพว่จะต้องเป็นยังไง และต้องถ่ายให้ได้อย่างนั้น
       
            การจัดหาอุปกรณ์ (System Acquisition) - โทรศัพท์มือถือ(Smart Phone), กล้อง DSLR, คอมพิวเตอร์, อินเตอร์เน็ต, ขาตั้งกล้อง, แฟลช สมุด, ดินสอ, ยางลบ ฯลฯ
เจดีย์หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโค





          ประวัติการก่อสร้าง : เจดีย์หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโค โดยมีวัตถุประสงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐบริขารของหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ได้มีผูีจิตศรัทธาและพี่น้องชาวอำเภอพังโคนร่วมกันบริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างเจดีย์ฯ เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ การก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้าง ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จนแล้วเสร็จ องค์เจดีย์ฯวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๒ มีพระวิสุทธิญาณเถร

(พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย) วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ประธานสงฆ์ และพณฯท่าน พล.อ.เชาวลิต

ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานฆารวาส ประกอบพิธีวางศิลฤกษ์ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และยกฉัตรเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำ  ยสกุลปุตฺโต ณ วัดศรีจำปาชนบท อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
โบราณวัตถุ "หลักศิลาจารึกบ้านแร่"


หลักศิลาจารึกบ้านแร่ ตั้งอยู่ หมู่ ๑๔ บ้านแร่ ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

            
           ริมคลองชลประทานน้ำอูน ด้านตะวันออกของหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีอนามัยบ้านแร่ ภายในบริเวณวัด จะมีสถานีอนามัยตำบลและบ้านพักเจ้าหน้าที่ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)

      พระํธาตุร้างและศิลาจารึกใกล้กับรั้วด้านทิศเหนือและทิศใต้มีต้นโพธิ์ใหญ่ขนาดโอบ ๑๐ คนอยู่ในแนวเดียวกัน วัดนี้สันนิฐานว่าสร้างพร้อมกันกับศิลาจารึกคือ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓

           รูปลักษณ์ เป็นศิลาจึกอักษรไทยน้อยที่ลงศักราชตรงกับ พ.ศ.๑๘๙๓ สมัยไทย-ลาว ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ที่พบในภาคอีสานขณะนี้ ตัวอักษาไทยน้อย ลบเลือนมาก(อ่านไม่ออก มีล่องลอยการเขียน รูปทรงใบพัด ฐานกว้างประมาณ ๐.๔๕ เมตร ปลายกลมมน สูง ประมาณ ๐.๗๖ เมตร ฐานหนา ๐.๑๐ เมตร ค้นพบโดยคณะขุดค้นหาวัตถุโบราณ
ศาลเจ้าปู่ทองแดง


ศาลเจ้าปู่ทองแดง ตั้งอยู่บ้านพังโคน หมู่ ๑ ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ บนบานศาลกล่าว ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวฮ่อหรือจึนฮ่อ เมืองเชียงขวางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมืองประเทศราชของไทยคิดกบฎ แข็งเมือง รัชกาลที่ ๕ จึงมีรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ไปปราบพวกจีนฮ่อ จนได้รับชัยชนะและได้กวาดต้อนกลุ่มชนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงข้ามมาเป็นจำนวนมาก ได้แก่ชนเผ่าภูไท เผ่าไทโย้ย เผ่าไทย้อ เผ่าไทพวน และไทลาว เป็นต้น ให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณภาคอิสาน และภาคกลางบางส่วน


          ในการศึกษาข้อมูล มีนายทหารเอกของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชื่อนายทองแดง ไม่ทราบนามสกุล ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคุมผู้คนอพยพ มาอยู่แถบเมืองสกลทวาปี (สกลนคร)และนายทหารทอง ได้มีครอบครัวอยู่ที่เมืองจำปาชนบท (บ้านนาเหมืองปัจจุบัน) และได้จับจองบุกเบิกที่ราบทางทิศตะวันออก ของดอนตูม(ดอนพังโคน)เป็นที่นาและที่ทำกิน นายทหารทองแดง เป็นทหารที่มีความเก่งกล้าในการรบ มีเวทย์มนต์ คาถาอาคม อยู่ยงคงกระพันหนังเหนียว ของมีคมฟันแทงไม่เข้า เป็นที่เลื่องลือทั่วทุกสารทิศ เวลามีอิทธิฤทธิ์ ในหน้าตลอดจนผิวกายเป็นสีแดง คนทั่วไปตั้งชื่อว่า ทองแดง หรือ "เจ้าปู่ทองแดง"

          เจ้าปู่ทองแดง นอกจากเก่งแล้วยังมีฤทธิ์เดช ยังเป็นคนดี มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือจุนเจือผู้อื่นที่ยากไร้อยู่เสมอ ผู้คนเคารพนับถือเลื่อมใส เมื่อเจ้าปู่ทองแดงเสียชีวิตลง ญาติพี่น้องชาวบ้านจึงได้ฝังกระดูไว้ที่นาบริเวณดอนตูม(ดอนพังโคน) โดยก่ออิฐดินเผาเป็นธาตุเจดีย์ไว้ข้างจอมปลวกใต้ต้นไทรต้นตีนเป็ด (ตรงตั้งศาลเจ้าปู่ปัจจุบัน)เกิดเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ความเชื่อ ชาวบ้านมากราบไหว้ศาลเจ้าปู่ทองแดง ขอวิญญาณเจ้าปู่ได้ช่วยเหลือ บนบานหรือขอก็เกิดความสำเร็จเกือบทุกราย ผู้คนจึงเลื่อมใสในศรัทธา กราบไหว้

          วันขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๖ บ้านพังโคนจะจัดการสมโภชน์ประจำทุกปี ธูปเทียน ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ อาหาร หวาน คาว ถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกถวายเจ้าป่ทองแดง เป็นอาหารหวาน
ส่วนที่ ๒ ถวายทหารบริวาร เป็นอาหารคาว เช่นเหล้าไห ไก่ตัว หัวหมู


ไก่ย่างพังโคน


ในภาพอาจจะมี อาหารในภาพอาจจะมี อาหาร



          ไก่ย่างพังโคน เป็นภูมิปัญญาของคนพังโคนในการประกอบอาหารพื้นบ้าน ทำง่าย ขายคล่อง เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอพังโคน ทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย จำนวนมาก ต้นทุนต่ำ กำไรพออยู่ได้รับประทานได้กับทุกเพศทุกวัย รับประทานกับข้าวเหนียวอร่อย ราคาตัวละ 60-80 บาท หาซื้อเป็นของฝากและรับประทานได้ที่อำเภอพังโคน


          ไก่ย่างเป็นอาหารพื้นเมืองสำคัญอย่างหนึ่งของชุมชนภาคอีสาน ยิ่งรับประทานกับข้าวเหนียวนึ่งจะง่ายในการพกพาและรับประทาน จึงเป็นที่นิยมของผู้เดินทางไกล หากจะรับประทานอาหารให้เร็ว พังโคนเป็นชุมทาง จากสี่แยกสองวาสามารถเดินทาง ไป – มา ได้รอบทิศ ทิศเหนือไปจดแม่น้ำโขงที่บึงกาฬ และทิศตะวันตกไปจนถึงอุดรธานี และหนองคาย ฯลฯ พังโคนมีโอกาสได้ต้อนรับผู้เดินทางไกลผ่านพังโคนทุกเมื่อเชื่อวัน แต่ละวันก็หลายเที่ยวหลายกลุ่มหลายพวก สิ่งหนึ่งที่พังโคนต้อนรับผู้เดินทาง-ผู้ผ่านทาง คือไก่ย่าง ประกอบกับไก่ย่างของชาวพังโคนได้พัฒนามานาน มีสูตรเฉพาะถิ่น เลือกไก่ที่เหมาะสม สดสะอาด ขนาดพอดี ฯลฯ แม้แต่ถ่านที่ใช้ย่างไก่ก็เป็นถ่านไม้ที่เลือกใช้เฉพาะถิ่น ที่ให้ความร้อนพอดี มีขี้เถ้าพอดีและไม่ดับง่าย ย่างไก่ออกมาเป็นไก่ย่างที่สุกทั้งตัวพอดี ไม่สุก ๆ ดิบ ๆ หรือสุกจนไหม้เกรียม




           ไก่ย่างน่ากิน ชาวพังโคนขายไก่ย่างตั้งแต่เป็นร้านค้าแผงลอยไปจนถึงร้านอาหาร ภัตตาคาร จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า “ พังโคนต้องมีไก่ย่าง ” หรือ “ ไก่ย่างดีต้องที่พังโคน ” ไก่ย่างจึงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอำเภอพังโคน  อีกทั้งยังมีของอร่อยๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นไข่ปิ้ง หมกเครื่องในไก่ก็รสชาติอร่อยจริงๆ
           และไก่ย่างพังโคนจะมีร้านอยู่ร้านนึงซึ่งเป็นร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องไก่มากที่สุดในอำเภอ นั่นก็คือร้าน "ไฉนโชนา"


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไฉนโภชนา พังโคน
           

         ไฉนโภชนา ไก่ย่างพังโคน รางวัลชนะเลิศ ร้านต้นตำรับของอ.พังโคน จ.สกลนคร ไก่ย่างพังโคน ของขึ้นชื่อของอำเภอพังโคน จ.สกลนคร ใครมาจ.สกลนครแล้วไม่ได้กินไก่ย่างพังโคน เหมือนมาไม่ถึง สกลนคร ไก่ย่างของอ.พังโคนมีจุดเด่นที่จะย่างแบบแห้ง ใช้ไก่ขนาดพอเหมาะ หมักสมุนไพร ย่างด้วยถ่านอ่อนๆ โดยโรยขี้เถ้ากลบ ให้ไห้ไฟที่ระอุ จะได้ไก่ที่แห้ง หนังกรอบ หอมไม้ไผ่และตอกที่ใช้ย่างไก่


ผลการประกวดธิดาบั้งไฟทางไกลอำเภอพังโคน ประจำปี ๒๕๕๘ ตามที่ เทศบาลตำบลพังโคน ร่วมกับอำเภอพังโคน และหน่วยงานต่างๆ พ่อค้าประชาชนชาวอำเภอพังโคน...